definição e significado de กระดาษ | sensagent.com


   Publicitade R▼


 » 
alemão búlgaro chinês croata dinamarquês eslovaco esloveno espanhol estoniano farsi finlandês francês grego hebraico hindi holandês húngaro indonésio inglês islandês italiano japonês korean letão língua árabe lituano malgaxe norueguês polonês português romeno russo sérvio sueco tailandês tcheco turco vietnamês
alemão búlgaro chinês croata dinamarquês eslovaco esloveno espanhol estoniano farsi finlandês francês grego hebraico hindi holandês húngaro indonésio inglês islandês italiano japonês korean letão língua árabe lituano malgaxe norueguês polonês português romeno russo sérvio sueco tailandês tcheco turco vietnamês

Definição e significado de กระดาษ

Definição

definição - Wikipedia

   Publicidade ▼

Sinónimos

Locuções

   Publicidade ▼

Dicionario analógico

Wikipedia

กระดาษ

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

กระดาษ

กระดาษ เป็นวัสดุที่ผลิตขึ้นมาสำหรับการจดบันทึก มีประวัติศาสตร์ยาวนาน เชื่อกันว่ามีการใช้กระดาษครั้งแรกๆ โดยชาวอียิปต์และชาวจีนโบราณ แต่กระดาษในยุคแรกๆ ล้วนผลิตขึ้นเพื่อการจดบันทึกด้วยกันทั้งสิ้น จึงกล่าวได้ว่าระบบการเขียนคือแรงผลักดันให้เกิดการผลิตกระดาษขึ้นในโลก[ต้องการอ้างอิง] ปัจจุบันกระดาษไม่ได้มีประโยชน์ในการใช้จดบันทึกตัวหนังสือ หรือข้อความ เท่านั้น ยังใช้ประโยชน์อื่นๆ ได้มากมาย เช่น กระดาษชำระ กระดาษห่อของขวัญ กระดาษลูกฟูกสำหรับทำกล่อง เป็นต้น


เนื้อหา

ประวัติ

กระดาษของชาวอียิปต์โบราณ ผลิตจากกกชนิดหนึ่ง ที่เรียกว่า พาไพรัส (papyrus) และเรียกว่ากระดาษพาไพรัส พบว่ามีการใช้จารึกบทสวดและคำสาบาน บรรจุไว้ในพีระมิดของอียิปต์ นักประวัติศาสตร์เชื่อว่ามีการใช้กระดาษที่ทำจากพาไพรัสมาตั้งแต่ปฐมราชวงศ์ของอียิปต์ (ราว 3,000 ปีก่อนคริสตกาล)

สำหรับวัสดุใช้เขียนนั้น ในสมัยโบราณมีด้วยกันหลายอย่าง เช่น แผ่นโลหะ หิน ใบลาน เปลือกไม้ ผ้าไหม ฯลฯ ผู้คนสมัยโบราณคงจะใช้วัสดุต่างๆ หลากหลายเพื่อการบันทึก ครั้นเมื่อราว ค.ศ. 105 สมัยพระเจ้าจักรพรรดิโฮตี่[1] ชาวจีนได้ประดิษฐ์กระดาษโดยชาวเมืองลีบางชื่อว่า ไซลุง (Ts'ai'Lung) ใช้เปลือกไม้เศษแหอวนเก่าๆมาต้มจนได้เยื่อกระดาษและมาเกลี่ยบนตระแกรงปล่อยให้แห้และหลังจากนั้นได้มีการใช้วิธีผลิตกระดาษเช่นนี้แพร่หลายอย่างรวดเร็ว

กระดาษถูกนำจากประเทศจีนสู่โลกมุสลิมผ่านสงครามทัลลัส (Tallas) ในปี ค.ศ. 751 ที่กองทัพจีนรบกับกองทัพมุสลิม เชลยศึกชาวจีน 2 คนได้เปิดเผยวิธีการทำกระดาษแก่ชาวมุสลิมก่อนได้รับการปล่อยตัวไป จากนั้นมุสลิมได้ทำให้การทำกระดาษเปลี่ยนจากศิลปะไปเป็นอุตสาหกรรมกระดาษ ทำให้มีการพัฒนาการศึกษาในโลกมุสลิมอย่างกว้างขวาง มุสลิมในสมัยกลางจึงเจริญก้าวหน้าด้านศิลปวิทยาการที่สุดในโลก

ชาวมุสลิมปรับปรุงวิธีการทำกระดาษใช้ผ้าลินินแทนเปลือกของต้นหม่อนอย่างที่ชาวจีนทำ เศษผ้าลินินไม่เน่าเปื่อย แต่จะเปียกโชกอยู่ในน้ำ และหมักอยู่ในนั้น เศษผ้าที่ต้มแล้วจะปราศจากกากที่เป็นด่างและสิ่งสกปรกอื่น ๆ จากนั้นเศษผ้าจะถูกนำมาตอกด้วยค้อนให้เป็นเยื่อ เทคนิคที่ทำให้เป็นเยื่อบางนี้ถูกพัฒนาโดยชาวมุสลิม

แบกแดด ราชธานีของอาณาจักรอับบาซิด สมัยนั้นเต็มไปด้วยโรงงานทำกระดาษ จากนั้นยังกระจายไปสู่อีกหลาย ๆ ส่วนของโลก กระดาษที่ส่งออกไปยุโรปโดยมากทำในเมืองดามัสกัส (ซีเรีย) เมื่อขยายการผลิตเพิ่มขึ้น กระดาษจึงมีราคาถูกลง คุณภาพดีขึ้นและมีจำหน่ายแพร่หลาย

จากนั้นโรงงานกระดาษที่เฟื่องฟูอยู่ในอิรัก ซีเรีย และปาเลสไตน์ ก็ขยายตัวไปสู่ทางตะวันตก ในทวีปอาฟริกา โรงงานกระดาษแห่งแรกของประเทศอียิปต์ตั้งขึ้นในปีค.ศ. 850 จากนั้นขยายไปมอรอคโค และในปีค.ศ. 950 ได้ขยายไปยังอันดาลูเซีย อาณาจักรมุสลิมสเปน

กระดาษถูกผลิตขึ้นครั้งแรกในยุโรปโดยมุสลิมมัวร์ โดยวัสดุที่ใช้ทำกระดาษคือปอชั้นดีของบาเลนเซียและมูร์เซีย โดยมีศูนย์กลางโรงงานกระดาษของอันดาลูเซีย ที่เมืองชาติวา (Xativa หรือ Jativa) ใกล้บาเลนเซีย จากสเปนและเกาะซิซิลีซึ่งในขณะนั้นเป็นอาณาจักรมุสลิม การทำกระดาษได้ขยายไปสู่ชาวคริสเตียนในอิตาลี จากนั้นในปีค.ศ. 1293 มีการตั้งโรงงานกระดาษที่โบโลญญา (Bologna) ในปีค.ศ. 1309 เริ่มมีการใช้กระดาษเป็นครั้งแรกในอังกฤษ จากนั้นในปลายศตวรรษที่ 14 ชาวเยอรมันจึงเพิ่งรู้จักกระดาษ


กระดาษในประเทศไทย

ประวัติการใช้กระดาษในสยามไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่วัสดุที่มีลักษณะอย่างกระดาษนั้น เรามีกระดาษที่เรียกว่า สมุดไทย ผลิตจากเยื่อไม้ทุบละเอียด ต้มจนเปื่อย ใส่แป้งเพื่อให้เนื้อกระดาษเหนียว แล้วนำไปกรองในกระบะเล็กๆ ทิ้งไว้จนแห้ง แล้วลอกออกมาเป็นแผ่น พับทบไปมาจนตลอดความยาว จึงได้เป็นเล่มสมุด เรียกว่า สมุดไทยขาว หากต้องการ สมุดไทยดำ ก็จะผสมผงถ่านในขั้นตอนการผลิต

ในทางภาคเหนือของไทย มีการผลิตกระดาษด้วยวิธีการคล้ายคลึงกัน เรียกว่า กระดาษสา เมื่อนำมาทำเป็นสมุดใช้เขียน เรียกว่า ปั๊บสา

คำว่า กระดาษ ในภาษาไทยสันนิษฐานว่าน่าจะทับศัพท์มาจากภาษาอาหรับและเปอร์เซียคือ กิรฏอส ในสมัยที่ชาวเปอร์เซียเข้ามาค้าขายในกรุงศรีอยุธยาซึ่งภาษามลายูก็ได้ทับศัพท์จากสองภาษานี้เช่นเดียวกัน คือ kertas หมายถึง กระดาษ เช่นกัน ส่วน กิรฏอส ในภาษาอาหรับนั้น แม้ว่าจะมีใช้มาก่อนคริสต์ศตวรรษที่ 6 แต่ก็เป็นคำที่ยืมมาจากภาษากรีก khartes ซี่งภาษาอังกฤษก็ได้ยืมคำนี้ไปใช้เป็น chart, card และ charter

การใช้กระดาษในปัจจุบัน เนื่องจากกระดาษเป็นวัสดุสิ้นเปลือง จึงมีการนำกระดาษกลับมาใช้อีก เช่น กระดาษหนังสือพิมพ์นำมาพับถุงกระดาษ กระดาษสำหรับเขียนแม้ใช้แล้วทั้งสองหน้า ก็สามารถนำไปพิมพ์อักษรเบรลล์สำหรับคนตาบอดได้ เมื่อหมดสภาพแล้ว ก็นำไปเข้าโรงงานแปรรูปเป็นสินค้าประเภทลังกระดาษ ได้อีก

กระดาษที่ใช้งานในสำนักงานในประเทศไทยทั่วไปปัจจุบันนี้ใช้ขนาดมาตรฐาน คือ ขนาด A4 น้ำหนัก 80-100 แกรม เป็นส่วนมาก

ประเภทของกระดาษ

กระดาษพิมพ์เขียนชนิดเคลือบผิว

  • กระดาษอาร์ตมันสองหน้า
  • กระดาษอาร์ตการ์ดสองหน้า
  • กระดาษอาร์ตด้าน
  • กระดาษอาร์ตมันหน้าเดียว
  • กระดาษอาร์ตคาร์บอนเลส

กระดาษพิมพ์เขียนชนิดไม่เคลือบผิว

  • กระดาษออฟเซ็ต สำหรับเทคโนโลยีงานพิมพ์แบบออฟเซ็ต
  • กระดาษถ่ายเอกสาร ใช้กับอุปกรณ์สำนักงานทั่วไป เช่น เครื่องถ่ายเอกสาร โทรสาร เครื่องพิมพ์อิงค์เจ็ต เครื่องพิมพ์เลเซอร์ เป็นต้น
  • กระดาษคอมพิวเตอร์ มีเนื้อกระดาษบาง รูปแบบจัดจำหน่ายโดยมากมีลักษณะเป็นม้วนพร้อมรูปรุด้านข้าง ตัวอย่างที่พบเห็นได้บ่อย เช่น ใบเสร็จรับเงิน
  • กระดาษขาวพรีเมี่ยมไวท์ / การ์ดสี
  • กระดาษแอร์เมล์ กระดาษสำหรับใช้งานพิมพ์หรือเขียนจดหมายส่งต่างประเทศ มีน้ำหนักเบาเป็นพิเศษกว่ากระดาษทั่วไป ช่วยลดค่าใช้จ่ายในการส่งจดหมายซึ่งคิดตามน้ำหนักของกระดาษ
  • กระดาษถนอมสายตา หมายถึงกระดาษที่มีอัตราการสะท้อนแสงน้อยกว่ากระดาษทั่วไป ซึ่งจะมีสีที่หม่นกว่าปกติเล็กน้อย
  • กระดาษแบงค์สี หมายถึงกระดาษที่ใช้ในธนาคาร มีสีสันต่างๆ หลากหลาย

กระดาษชนิดพิเศษแบบเคลือบผิว

  • กระดาษอาร์ตอัดลาย
  • กระดาษอาร์ตการ์ดหน้าเดียว
  • กระดาษอาร์ตกึ่งมัน

กระดาษชนิดพิเศษแบบไม่เคลือบผิว

  • กระดาษการ์ดขาวกันเชื้อรา
  • กระดาษคราฟท์ขาว
  • กระดาษคราฟท์เหลืองอ่อน
  • กระดาษคราฟท์เหลืองทอง
  • กระดาษคราฟท์ครีม
  • กระดาษคราฟท์เขียว (เลคเยอร์)
  • กระดาษคั่นกระจก ใช้สำหรับสอดคั่นกลางระหว่างกระจกแต่ละแผ่น เป็นกระดาษที่ผ่านกรรมวิธีผลิตแบบกรด จึงไม่ทิ้งคราบด่างไว้บนกระจก
  • กระดาษคั่นสแตนเลส
  • กระดาษคราฟท์ขาว MF
  • กระดาษคราฟท์ขาว MG
  • กระดาษเบสรูปลอกเซรามิค
  • กระดาษขาวการ์ดขาวไปรษณียบัตร สำหรับพิมพ์แผ่นไปรณียบัตร
  • กระดาษขาวการ์ดขาวลายผ้า
  • กระดาษบังสีรถยนต์


มาตรฐานโลกสำหรับขนาดของกระดาษ

ขนาดกระดาษ A

มาตรฐาน A

  • 2A 1189 x 1682 มม 46.81 x 66.22 นิ้ว
  • A0 841 x 1189 มม 33.11 x 46.81 นิ้ว
  • A1 594 x 841 มม 23.39 x 33.11 นิ้ว
  • A2 420 x 594 มม 16.54 x 23.39 นิ้ว
  • A3 297 x 420 มม 11.69 x 16.54 นิ้ว
  • A4 210 x 297 มม 8.27 x 11.69 นิ้ว
  • A5 148 x 210 มม 5.83 x 8.27 นิ้ว
  • A6 105 x 148 มม 4.13 x 5.83 นิ้ว
  • A7 74 x 105 มม 2.91 x 4.13 นิ้ว
  • A8 52 x 74 มม 2.05 x 2.91 นิ้ว
  • A9 37 x 52 มม 1.46 x 2.05 นิ้ว
  • A10 26 x 37 มม 1.02 x 1.46 นิ้ว

มาตรฐาน B

  • B0 1000 x 1414 มม 39.37 x 55.67 นิ้ว
  • B1 707 x 1000 มม 27.83 x 39.37 นิ้ว
  • B2 500 x 707 มม 19.68 x 27.83 นิ้ว
  • B3 353 x 500 มม 13.90 x 19.68 นิ้ว
  • B4 250 x 353 มม 9.8 x 13.90 นิ้ว
  • B5 176 x 250 มม 6.93 x 9.84 นิ้ว
  • B6 125 x 176 มม 4.92 x 6.93 นิ้ว
  • B7 88 x 125 มม 3.46 x 4.92 นิ้ว
  • B8 62 x 88 มม 2.44 x 3.46 นิ้ว
  • B9 44 x 62 มม 1.73 x 2.44 นิ้ว
  • B10 31 x 44 มม 1.22 x 1.73 นิ้ว

มาตรฐาน C

  • C3 324 x 458 มม 12.76 x 18.03 นิ้ว
  • C4 229 x 324 มม 9.02 x 12.76 นิ้ว
  • C5 162 x 229 มม 6.38 x 9.02 นิ้ว
  • C6 114 x 162 มม 4.49 x 6.38 นิ้ว
  • C7 81 x 114 มม 3.19 x 4.49 นิ้ว
  • DL 110 x 220 มม 4.33 x 8.66 นิ้ว

อ้างอิง

  1. ^ วิมลรัตน์ ศรีจรัสสิน,นิตยสารสารคดี ฉบับเดือนมีนาคม พ.ศ. 2536, หน้า 154

 

todas as traduções do กระดาษ


Conteùdo de sensagent

  • definição
  • sinónimos
  • antónimos
  • enciclopédia

 

7724 visitantes em linha

calculado em 0,187s